งานไฟเบอร์กลาสพวกตัวหุ่นโชว์ตามร้านต่างๆ ล้วนแต่เป็นงานฝีมือทั้งสิ้น ไม่สามารถใช้เครื่องจักรทำได้เลย ทั้งแต่งานปั้นต้นแบบ , การทำโมลเพื่อหล่อ , การหล่อไฟเบอร์กลาส , การขัดและพ่นสี ในงาน 1 ชิ้น ประกอบด้วยงานทั้ง4อย่างนี้แน่นอน ซึ่งต้องใช้ช่างที่ชำนาญและฝีมือดีพอสมควร
แม้ปัจจุบันในขั้นตอนแรก ตอนทำต้นแบบ ลูกค้าบางคนอาจบอกว่ามีเครื่อง CNC แล้ว มันก็จริงอยู่ และอย่าลืมว่าค่าใช้จ่ายในขั้นตอนนี้ก็ไม่ได้ถูกลงกว่าใช้คนปั้นสักเท่าไหร่ แถมยังต้องปั้น 3D ในคอมพิมเตอร์อีก
เราลองมาดูกัน ว่าในแต่ละขั้นตอนของงานไฟเบอร์กลาส เป็นอย่างไรบ้าง?
1.ขั้นตอน การปั้นต้นแบบด้วยดินเหนียว หรือ ด้วยโฟม
ขั้นตอนนี้ถือว่ายากที่สุด อยู่ที่ความชำนาญของช่างแต่ละคน ต้องอาศัยช่างที่มีประสบการณ์ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ภาพแบบปกติมา แต่ช่างต้องแกะจนเป็นตัวตามขนาดที่ลูกค้าต้อง และสัดส่วนที่ถูกต้อง ถูกสเกลด้วย
- ความผิดพลาดของงานไฟเบอร์กลาสส่วนใหญ่จะอยู่ที่ขั้นตอนนี้ ช่างอาจทำผิดแบบ ขนาดไม่ได้ ผิดสเกล ทำให้งานขั้นตอนต่อไปจะไม่สวยแน่นอน
*** ข้อควรระวัง ลูกค้าควรให้แบบที่ต้องการจริงๆ และยิ่งเขียนสัดส่วนให้ช่างก็จะยิ่งดี และควรขอช่างตรวจงานในขั้นตอนนี้ ตอนที่จะทำในขั้นตอนต่อไป
2.ขั้นตอนทำโมลหรือการบล็อคยางซิลิโคน
*** ในขั้นตอนนี้จะเริ่มหลังจากที่ลูกค้า ตรวจแบบในขั้นตอนแรกเรียบร้อย และจะไม่สามารถแก้แบบได้อีก
การทำโมลในขั้นตอนนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ
- โมลแบบพิมพ์ทุบ คือ งานหุ่นไฟเบอร์ที่ใช้เพียงตัวเดียว ทำเสร็จก็จะไม่สามารถทำเพิ่มได้อีก
- โมลแบบพิมพ์ยางซิลิโคน กรณีลูกค้าทำหุ่นไฟเบอร์หลายๆตัว
ขั้นตอนนี้สิ่งที่ลูกค้าควรระวังคือ ต้องตัดสินใจดีๆว่าจะใช้งานจริงๆกี่ตัว เพราะมันหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกิด การทำพิมพ์ทุบช่างก็จะตีราคางานไม่แพงมาก แตะหากเป็นพิมพ์ยางก็จะราคาแพงหน่อย
หรือในบางกรณีลูกค้าต้องการงานที่ละเอียดมาก เช่น งานหุ่นคนเหมือนจริง งานสัตว์แบบเหมือนจริง ถึงแม้ทำงานชิ้นเดียว ช่างก็อาจใช้พิมพ์แบบยางซิลิโคน
3. ขั้นตอนการขัดและโป๊วสี
งานจะเนียบหรือไม่เนียบจะอยู่ที่ขั้นตอนนี้ บางครั้งงานเร่งด่วนผมต้องเข้าไปช่วยขัด งานนี้ทั้งได้เหงื่อได้ฝุ่นไปเต็มๆ
ช่างๆที่ละเอียดจะคอยสังเกตุและเก็บงาน ตามดต่างๆที่เกิดขึ้นจากการหล่อ บางครั้งตอนหล่อไฟเบอร์จะเป็นคลื่นบ้าง เป็นฟองอากาศบ้าง ขั้นตอนนี้ถ้าทำไม่เรียบร้อย เวลางานเสร็จเราจะเห็นหุ่นเป็นลาย ไม่สวยเท่าที่ควร ขั้นตอนนี้ลูกค้าจะดูไม่ค่อยออก ต้องไว้ใจช่างเจ้านั่นจริงๆ ว่าเขาจะช่วยเก็บงานให้เราดีแค่ไหน
4.ขั้นตอนการพ่นสี
ตรงสีก็อยู่ฝีมือการเทียบสีจากรูปที่ลูกค้าให้มา บางครั้งมองเหมือนง่าย แต่มะนก็ไม่ง่ายทีเดียว เพราะอย่าลืมว่าลูกค้าให้รูปมา เป็น RGB แล้วพอช่างพิมพ์จากเครื่องเป็น CMYK ฉะนั่นสีก็อาจเพี้ยนได้
เว้นแต่ลูกค้ากำหนดแพลนโทนมาให้ช่าง แล้วช่างก็ไม่จ้างที่ร้านสีผสมมาเลย แบบนี้ก็ถูกต้อง100%
และอีกอย่างนึง คือตัวตุ๊กตาสีมีหลายๆสี ช่างก็จะใช้วิธีบังแล้วพ่นสลับกันไป ตรงนี้ก็อาจมีความผิดพลาดได้หากตุ๊กตาตัวนั่นมีสีเยอะเกินไป
ท่านไหนต้องการคำปรึกษางานไฟเบอร์กลาส งานปั้น หรือ เกิดปัญหางานการทำงานตุ๊กตาหุ่นไฟเบอร์กลาส
สามารถโทร.มา หรือ ไลน์ มาสอบถามได้ ไม่ต้องเกรงใจ
Line : mike.model
081-8153755 ไมค์